จริงหรือไม่ ? ย้อมสีผม ทำให้หัวล้าน อันตรายต่อสุขภาพ
สารบัญของบทความ
การย้อมสีผมเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในทุกเพศ รวมทั้งการทำสีผมผู้ชาย เพื่อปรับบุคลิกภาพ หรือในวัยสูงอายุก็มักจะย้อมสีผมเพื่อปกปิดโคนผมขาวเป็นประจำ การย้อมสีผมไม่ได้มีแค่ข้อดี วันนี้จะมาบอกข้อเสียให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิตได้
การที่ศีรษะของเราสัมผัสกับสารเคมีจากน้ำยาย้อมสีผมมาก ๆ ทำให้ผิวหนังและโครงสร้างเส้นผมถูกทำลาย เกิดผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ผมบาง หรือหัวล้านได้ ยิ่งถ้าใช้ยาย้อมสีผมที่ไม่มีคุณภาพก็ยิ่งทำให้ผมเสียมากขึ้น บางรายเกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อม
โครงสร้างของเส้นผม
- แกนผม (Medulla) ชั้นแกนผมจะอยู่ชั้นในสุดเกิดจากโปรตีนและไขมัน ไม่ได้มีหน้าที่ในการทำงาน แต่คนที่มีผมเส้นเล็กมักจะไม่มีแกนผม
- เนื้อชั้นนอก (Cortex) เป็นชั้นของเส้นผมที่มีความหนาที่สุด ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดสีผม เพราะเนื้อผมชั้นนอกเป็นแหล่งรวมของเม็ดสี เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก มีเซลล์รูปกระสวยคล้ายเส้นใยเรียงอัดกันแน่นตามยาว มีช่องอากาศ โปรตีน เคราติน และเส้นใยโปรตีน ช่วยให้ผมมีความนิ่ม ยืดหยุ่น
- ผิวชั้นนอก (Cuticle) อยู่ชั้นนอกสุด ชั้นนี้จะช่วยป้องกันการซึมผ่านของสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปทำลายเส้นผม และยังช่วยปกป้องชั้นในเนื้อผมไม่ให้สูญเสียความชุ่มชื้น เม็ดสี รวมถึงน้ำมันตามธรรมชาติซึ่งช่วยให้ผมดูเป็นเงา โปร่งแสงไม่มีสี
ผิวชั้นนี้มีลักษณะเป็นเกล็ดใสๆ จะเกิดความเสียหายก็ต่อเมื่อเราหวีผมผิดวิธี ใช้ความร้อน ผมมีความชื้น การใช้เคมีที่มาทำปฏิกิริยากับเส้นผม ดูง่าย ๆ ว่าถ้ามีสุขภาพดีผิวชั้นนอกนี้จะมีเกล็ดผมจะปิดและเรียงตัวกันดี แต่ถ้าหากผมเสีย ผมแห้ง เกล็ดผมนี้จะฉีกขาดและไม่เรียงตัว ไม่สามารถปกป้องความชุ่มชื้น
สารเคมีอันตรายในยาย้อมสีผม
- สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide)
เป็นสารฟอกสีผม กัดสีผม ทำลายเม็ดสีตามธรรมชาติให้สีผมอ่อนลง ทำให้เกิดการทำลายเส้นผม เช่น ผมแห้งเสีย ผมแข็งกระด้าง ผมร่วง และเกิดการทำลายหนังศีรษะ เช่น เกิดการอักเสบ ระคายเคือง และที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง - สารพาราฟีนิลีนไดอะมีน (PPD; Para-Phenylene Diamine)
เป็นสารที่มักเจออยู่ในสีย้อมผมชนิดถาวร จึงเป็นสารเคมีที่ค่อนข้างมีความอันตรายต่อเซลล์ผมและหนังศีรษะ ได้มีรายงานจากต่างประเทศ พบว่า สารพาราฟีนิลีนไดอะมีน ได้เข้าไปสะสมในกระเพาะปัสสาวะซึ่งก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้ด้วย เช่น โรคมะเร็งหนังศีรษะได้
นอกจากนี้ สารเคมีนี้ยังทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง อาการแพ้ เช่น หน้าบวม คอบวม ผื่นแดง แสบร้อน และหากสูดดมก็ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ไอ หายใจไม่ออกได้ด้วยเช่นกัน - สารพาราโทลูอีนไดอะมีน (PTD; Para-Toluenediamine)
สาร PTD ทำหน้าที่ช่วยเปลี่ยนสีผมได้ดี เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ จึงมีความรุนแรงของสารเคมีให้บางคนเกิดอาการแพ้ แสบผิว แสบตา บวม คัน หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดอย่างรวดเร็ว ก่อนที่สารเคมีจะเข้าไปทำลายผิวหนังและโครงสร้างของเส้นผม - สารแอมโมเนีย (Ammonia)
ประโยชน์ของสารแอมโมเนียคือช่วยให้เมื่อย้อมผมแล้วสีติดผมดีขึ้น แต่แฝงไปด้วยตวามอันตราย เพราะมีฤทธิ์ในการกัดเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา และยังทำให้ผมเสีย รากผมอ่อนแอจนผมร่วง - สารซิลเวอร์ไนเตรต (Silver Nitrate)
สารซิลเวอร์ไนเตรตที่ผมอยู่ในยาย้อมผมจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็ง มีผลให้เกิดการระคายเคืองบนหนังศีรษะ แต่ถ้าเข้าตาสามารถส่งผลร้ายแรงถึงตาถึงขั้นตาบอด หากสะสมในร่างกายเป็นปริมาณมากก่อให้การทำลายสมอง และประสาทสัมผัสต่าง ๆ - สารตะกั่วอะซีเตต (Lead Acetate)
สารตะกั่วอะซีเตตมีประโยชน์ในการไปจับกับโปรตีนในเส้นผมของคนเรา ทำให้การย้อมสีติดทนนานขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย้อมสีผม แต่ในสหภาพยุโรปได้มีคำเตือนว่าเป็นสารก่อมะเร็งได้ และมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ จึงเป็นสารที่ถูกห้ามใช้ในเบางประเทศของยุโรป
การแพ้น้ำยาย้อมสีผม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ได้สัมผัสสารเคมีต่างๆ เหล่านี้ เริ่มตั้งแต่อาการคันเล็กน้อย มีผื่นแดง มีน้ำเหลือง จนไปถึงอาการหายใจไม่ออก หน้าบวม ตาบอด
ยาย้อมผมมี 3 ชนิด
- ยาย้อมผมชนิดสีชั่วคราว จะหลุดออกหลังจากสระผมด้วยแชมพูตั้งแต่ครั้งแรกหรือครั้งที่ 2 เพราะเป็นยาย้อมผมที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่
- ยาย้อมผมชนิดสีกึ่งถาวร สารเคมีของยาย้อมผมนี้สามารถถึงดูดซึมเข้าไปในกลางของเส้นผมจึงจะติดเส้นผมนานกว่าแบบชั่วคราว โดยอยู่ได้นานถึง 3-5 สัปดาห์ เพราะเป็นยาย้อมผมที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก
- ยาย้อมผมชนิดสีย้อมถาวร มีคุณสมบัติทนต่อการสระผม ติดทนนาน โดยมีทั้งแบบยาเคลือบสีผม และยาย้อมผมชนิดที่ซึมเข้าเส้นผมเป็นชนิดที่นิยมมากสุดในการย้อมสีผม ประกอบด้วย
- ครีมสี ช่วยให้สีซึมเข้าเส้นผมได้ดี ซึ่งมีสารพาราโทลูอีนไดอะมีน (PTD; Para-Toluenediamine) สารพาราฟีนิลีนไดอะมีน (PPD; Para-Phenylene Diamine) และสารแอมโมเนีย (Ammonia) ซึมเข้าสู่ชั้นกลางของเส้นผม ทำให้ผมแห้ง ผมหยาบกระด้าง
- น้ำยาโกรกช่วยให้เกิดความเข้มของสีย้อมผม เพราะมีสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) จึงทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น การระคายเคืองบนหนังศีรษะ
- ครีมสี ช่วยให้สีซึมเข้าเส้นผมได้ดี ซึ่งมีสารพาราโทลูอีนไดอะมีน (PTD; Para-Toluenediamine) สารพาราฟีนิลีนไดอะมีน (PPD; Para-Phenylene Diamine) และสารแอมโมเนีย (Ammonia) ซึมเข้าสู่ชั้นกลางของเส้นผม ทำให้ผมแห้ง ผมหยาบกระด้าง
หากตอนนี้ใครย้อมสีผมแล้วกำลังเกิดปัญหาผมเสีย ผมแตกปลาย หรือผมร่วง สามารถบำรุงเส้นผมให้กลับมาดูดี ด้วยการบำรุงจากภายในด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงผม สระผมด้วยแชมพูแก้ผมร่วงที่มีสารสกัดจากธรรมขาติ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมต่าง ๆ เช่น การหนีบผม การไดร์ผม การเกาศีรษะด้วยเล็บหรือเกาอย่างรุนแรง ผมอับชื้น
สรุป
การย้อมสีผม เป็นการช่วยปรับเปลี่ยนให้หน้าตาของเราดูสว่างขึ้น เปลี่ยนลุคของตัวเองตามสไตล์ที่ชอบ แต่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการย้อมสีผมที่มีส่วนผสมจากสารเคมี เพราะส่งผลต่อร่างกายของเราทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ ถ้าหากใครย้อมสีผมแล้วมีอาการแพ้ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่รุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ และหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ ปลอดสารเคมีที่ทำลายสุขภาพ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และเส้นผมจนเกิดอาการผมร่วง รุนแรงได้ถึงอาการหัวล้าน