ผมร่วง

รู้หรือไม่ ? 3 สาเหตุ ทำไมผู้ชายมีปัญหาผมร่วง มากกว่าผู้หญิง

ปัญหา “ผมร่วง หัวล้าน” คือ เรื่องที่หลายคนกังวลกันไม่น้อย หลายคนเข้าใจว่าผู้ชายมีโอกาสหัวล้านมากกว่าผู้หญิง ในความเป็นจริงทั้งหญิงและชายต่างก็มีโอกาสผมร่วง ผมบาง จนนำไปสู่ปัญหาหัวล้านได้เช่นกัน 

เพียงแต่เพศชายนั้นมีโอกาสที่จะหัวล้านได้มากกว่าเพราะ 3 สาเหตุหลัก แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับลักษณะของอาการผมร่วง ผมบาง จนหัวล้านกันก่อนว่ามีลักษณะอย่างไรกันบ้าง

สัญญาณเตือนกำลังเข้าสู่ภาวะ “ผมร่วง หัวล้าน”

โดยทั่วไปเส้นผมคนเราจะร่วงประมาณวันละ 50-100 เส้น แต่ถ้าร่วงเกิน 100 เส้นต่อวัน แสดงว่าเริ่มมีความผิดปกติ สังเกตจากผมร่วงผิดปกติตอนสระผมว่ามีเส้นผมเป็นกระจุก ๆ จนอุดตันท่อระบายน้ำ สังเกตผมเริ่มบางลง ผมกลางศีรษะน้อยลง ไรผมเริ่มถอยร่นเข้าไป ลองสังเกตด้วยตัวเองหรือคนรอบข้างทัก

วงจรชีวิตเส้นผม

การรักษาผมร่วง ก่อนอื่นต้องเข้าใจเรื่องระยะเวลาในการรักษาที่เป็นไปตามลักษณะของวงจรชีวิตเส้นผมซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) เป็นระยะที่เส้นผมจะอยู่บนหนังศีรษะยาวนานที่สุด ประมาณ 2-8 ปี ในวัยเด็ก แต่ในวัยที่มีอายุมากขึ้นระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) จะมีอายุสั้นลง หากใครที่มีรากผมที่แข็งแรงเส้นผมก็จะอยู่ในระยะนี้ได้นานมากขึ้นกว่าคนอื่น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานสารอาหารที่จำเป็นต่อการบำรุงรากผมให้แข็งแรง หลุดร่วงช้าลง
  1. ระยะเส้นผมพักตัว (Catagen Phase) หากเส้นผมสิ้นสุดในช่วงระยะการเจริญเติบโตเรียบร้อยแล้ว เส้นผมก็จะเข้าสู่ระยะพักตัว โดยเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เส้นผมจะอยู่ในระยะนี้เพียงประมาณ 2-4 สัปดาห์ แล้วรากผมจะค่อยๆ ขยับเคลื่อนสู่ไปสู่บนชั้นของผิวหนังศีรษะ 
  1. ระยะหยุดการเจริญเติบโต (Telogen Phase) เป็นระยะสุดท้ายของเส้นผม เพื่อรอการหลุดร่วง โดยมีเส้นผมเส้นใหม่คอยดันเส้นผมเดิมที่หยุดการเจริญเติบโตแล้วให้หลุดร่วงออกไปจากหนังศีรษะ ระยะหยุดการเจริญเติบโตนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน และเข้าสู่ระยะเจริญเติบโต เป็นวงจรชีวิตหมุนเวียนกัน 

การเจริญเติบโตของเส้นผมและการหลุดร่วงของเส้นผมนั้นเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันตามวงจรชีวิตที่ได้กล่าวมา เมื่อมีอายุมากขึ้นเส้นผมใหม่ก็มีอายุสั้นลง มีลักษณะเส้นผมบางลง  และผมร่วงมากขึ้นด้วย ในบางคนก็รุนแรงไปถึงศีรษะล้านได้ นอกจากนี้ วงจรชีวิตเส้นผมได้มีการแปรผันตามช่วงอายุคนเรา โดยประกอบด้วย

  • ช่วงวัยเด็ก -30 ปี เส้นผมของคนวัยนี้มักจะอยู่ในระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) ในสัดส่วนมากกว่า 90% วัยนี้จึงมีเส้นผมดกหนามากที่สุดกว่าช่วงอายุอื่น
  • ช่วงอายุ 30-50 ปี เส้นผมจะอยู่ในระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) แต่อาจจะมีระยะเวลาสั้นลง กว่าในช่วงวัยแรก
  • ช่วงอายุ 50-60 ปี เส้นผมที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) มีจำนวนเส้นผมลดลงและขนาดของเส้นผมก็มีขนาดเล็กลงตามมามากกว่าทุกช่วงวัย จึงทำให้เห็นเส้นผมของคนช่วงวัยสูงอายุนี้เป็นลักษณะผมบางอย่างเห็นได้ชัด
  • อายุมากกว่า 60 ปี เส้นผมที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในคนสูงอายุ บางคนผมบางจนอาจเรียกได้ว่าศีรษะล้าน

3 สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผู้ชายมีปัญหาผมร่วง มากกว่าผู้หญิง

  1. กรรมพันธุ์หรือยีนส์ศีรษะล้าน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายมีโอกาสผมบาง ศีรษะล้านนั่นก็คือ กรรมพันธุ์หรือยีนส์ศีรษะล้าน ที่ถูกถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
  1. ฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผมร่วง หัวล้าน แต่จริง ๆ แล้วทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสที่จะหัวล้านได้ทั้งคู่ โดยมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ในครอบครัว ถึงแม้ว่าผู้หญิงบางคนจะมียีนส์ศีรษะล้าน แต่เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศชายน้อยกว่าผู้ชาย จึงทำให้ผู้หญิงมีโอกาสผมร่วง ผมบางได้น้อยกว่าผู้ชายนั่นเอง  

    เนื่องจาก ผู้ชายมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มากกว่าผู้หญิง เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผู้ชายเกิดอาการผมร่วง และ DHT ที่สังเคราะห์จากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)  

    โดย เอนไซม์ 5-Alpha Reductase ได้เข้าไปทำปฏิกิริยาที่รากผม ส่งผลให้เกิดการยับยั้งการสร้างเส้นผม จึงทำให้เส้นผมใหม่ที่ขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนเส้นผมเดิมมีขนาดเล็กลง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดลักษณะอาการผมบางจนศีรษะล้านได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หัวล้านได้นั้นต้องมีครบทั้ง 2 ปัจจัยคือ ยีนส์ศีรษะล้านและฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง 
  1. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ หากมีการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก จะทำให้วิตามินบี (Vitamin B) ในร่างกายถูกนำมาใช้จนหมด ทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี (Vitamin B) ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังส่งผลให้ขาดธาตุเหล็ก และสังกะสี ซึ่งแร่ธาตุดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อการสร้างความแข็งแรงของเส้นผม และการเจริญเติบโตของเส้นผม

    มีงานวิจัยหนึ่งได้ศึกษาพฤติกรรมของฝาแฝดเพศชายที่มีพันธุกรรมผมร่วงเหมือนกันทั้ง 2 คน พบว่า ฝาแฝดผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด มีเส้นผมร่วงและศีรษะล้านได้รวดเร็วกว่าฝาแฝดอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่

ลักษณะ “อาการผมร่วง ผมบาง หัวล้าน” ของผู้ชาย

ผมร่วงกินไรดี

ลักษณะผมร่วงของผู้ชายจะเริ่มมีอาการถอยร่นจากบริเวณหน้าผาก บริเวณกลางศีรษะและสามารถรุนแรงจนถึงล้านทั้งศีรษะได้เลย โดยมักจะไม่เกิดในผู้หญิง 

ถ้าหากเริ่มมีสัญญาณเตือนของอาการผมร่วง หัวล้าน ควรหาแนวทางการป้องกันและรักษาด้วยการบำรุงจากภายในสู่ภายนอก โดยการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HERRMETTO (เฮอร์เมตโต) เพื่อช่วยบำรุงเส้นผมให้มีความแข็งแรงและช่วยลดอาการหลุดร่วงของเส้นผมจากต้นเหตุได้อย่างแท้จริง ใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 4 เดือน ก็จะได้ทรงผมดกหนากลับมา ง่าย ๆ

ผมร่วงเยอะมาก
ผมร่วงเกิดจาก
ผมร่วงเยอะ
ผมร่วงทำไงดี
ผมร่วงสาเหตุ
ผมร่วงหนักมาก

สรุป

สาเหตุที่ผู้ชายมีปัญหาผมร่วงมากกว่าผู้หญิง คือ
  • กรรมพันธุ์หรือยีนส์ศีรษะล้าน ที่ถูกถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
  • ฮอร์โมนเพศชาย แต่เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศชายน้อยกว่าผู้ชาย จึงทำให้ผู้หญิงมีโอกาสผมร่วง ผมบางได้น้อยกว่าผู้ชายนั่นเอง
  • การดื่มแอลกอฮอล์หรือบุหรี่จำนวนมาก