ชันนะตุ

รีบกำจัด ! โรคชันนะตุ ก่อนที่จะหัวล้านถาวร

ชันนะตุ เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งบนหนังศีรษะ ลำตัว และใบหน้า มีลักษณะเป็นตุ่มใส วงกลม ๆ ส่งผลให้ผู้ที่เป็นมีอาการคันระคายเคือง เป็นแผลแดง บางคนที่ปล่อยไว้จนอักเสบ มักมีไข้ และผมร่วงเป็นหย่อมร่วมด้วย แม้ว่าชันนะตุจะเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่ก็สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้ไม่ยาก เพียงแค่รู้สิ่งเหล่านี้

สาเหตุของการเกิดชันนะตุ

ชันนะตุ

ชันนะตุบนหนังศีรษะเกิดได้จากเชื้อราเดอมาโทไฟต์ (Dermatophytes) หรือจากเชื้อราชนิดอื่น ๆ ที่อาจติดมากับเล็บของเรา และยังเกิดได้จากการทำความสะอาดไม่เพียงพอ ความเครียด ความชื้น รวมไปถึงการใช้แชมพูสระผมที่ไม่ได้คุณภาพ ก็สามารถทำให้เกิดชันนะตุได้

โดยเชื้อราเหล่านี้สามารถเติบโตได้ดีในบริเวณที่ชื้น หรือบริเวณผิวที่ผลิตน้ำมันออกมาได้เยอะ ทำให้ชันนะตุมักขึ้นบริเวณหนังศีรษะ หลังหู ง่ามเท้า และเปลือกตา ในเด็กทารกแรกเกิดก็มักมีเชื้อราขึ้นบนได้เช่นกัน ซึ่งสามารถหายได้ และเป็นไม่อันตรายสำหรับเด็ก ยกเว้นกรณีที่ลามเป็นวงกว้าง มีตุ่มหนอง ต้องรีบพาเด็กทารกไปพบแพทย์ทันที

แต่ในผู้ใหญ่ที่เชื้อราขึ้นตามหนังศีรษะ ควรรีบหาวิธีรักษาให้หายไวที่สุด เพราะเริ่มแรกจะเป็นเพียงตุ่มใส ๆ โดยเริ่มจากวงเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ถ้าปล่อยให้ชันนะตุลามไปเรื่อย ๆ ทีนี้ก็ยากที่จะรักษา จนในที่สุดอาจมีปัญหาเรื่องเส้นผมตามมาได้ ดังนั้น ให้ทุกคนรีบสังเกต ! ว่าคุณกำลังมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือไม่ เพื่อจะได้ยับยั้งเชื้อราให้ได้ทัน ก่อนสายเกินแก้จนกลายเป็นหัวล้านถาวร

อาการของโรคชันนะตุ

ชันนะตุ อาการ

อาการของโรคชันนะตุ จะเริ่มจากการมีตุ่มน้ำใสเป็นวงเล็ก ๆ ควบคู่ไปกับอาการคันหนังศีรษะ จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแดง และมีรังแคขุยขาว ๆ หลุดออกมาด้วย ซึ่งปัญหาเชื้อราบนหนังศีรษะยังส่งผลกระทบต่อรากผม รูขุมขน ทำให้เส้นผมที่งอกใหม่ไม่แข็งแรง เปราะบางง่าย และขาดร่วงเยอะ

สำหรับบางคนที่เป็นโรคชันนะตุ แล้วเกาศีรษะบ่อยอาจส่งผลให้เชื้อรากระจายตัวกว้างขึ้น หรือผู้ที่เกาหนังศีรษะแรงเกินไป จะทำให้แผลเกิดการอับเสบ จากตุ่มน้ำใสกลายเป็นตุ่มหนอง ผิวหนังบริเวณนั้นจะแสบ บวมแดง  รังแคหลุดร่วงมากกว่าเดิม และมีไข้ร่วมด้วย

จากอาการข้างต้นสามารถจำแนกเป็นอาการเริ่มต้น และแผลอักเสบได้ สำหรับผู้ที่เป็นแผลติดเชื้ออักเสบ จนมีไข้ เป็นหนองแล้ว ควรรีบพบแพทย์ด่วน ! เพราะกรณีนี้ต้องได้รับยาฆ่าเชื้อราโดยตรง ซึ่งตัวยาที่นิยมใช้รักษาชันนะตุ คือ เทอร์บินาฟีน (Terbinafine) และกริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin) แต่ควรเป็นการจ่ายยาภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยาทั้งสองชนิด อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้

แต่ผู้ที่เริ่มเป็นโรคชันนะตุ จริง ๆ แล้วสามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง โดยพยายามรักษาไม่ให้เชื้อรากระจายตัวกว้างขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้วิธี ดังต่อไปนี้  👇

4 วิธีหนีชันนะตุแบบง่าย ทำได้ด้วยตัวเอง

ชันนะตุ วิธีรักษา

แม้อาการเริ่มต้นของโรคชันนะตุจะดูไม่น่ากลัวเท่าไหร่ แต่ความมั่นใจ บุคลิกภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาการคันหนังศีรษะ รังแคตกที่บ่า หรือผมร่วงที่มาพร้อมกับเชื้อรา ก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บุคลิกภาพของเราเสียได้

ดังนั้น หากใครต้องการป้องกันตัวเอง หรือเด็ก ๆ สมาชิกในบ้าน ให้ห่างจากโรคชันนะตุ ลองใช้ 4 วิธีนี้ดู รับรอง ! หนังศีรษะสะอาด ปราศจากเชื้อรา และเส้นผมดกหนาแข็งแรงแน่นอน

  • หมั่นสระผมบ่อย ๆ
    การสระทำความสะอาดเส้นผมอยู่เสมอ สามารถช่วยลดการสะสมของเชื้อราบนหนังศีรษะได้ดี โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ชอบเล่นสนุก เหงื่อออกเยอะ แต่ละเลยการดูแลเส้นผมจนทำให้เป็นชันนะตุได้ ดังนั้น ผู้ปกครองควรดูแลเด็ก ๆ เรื่องนี้เป็นพิเศษ

    • แต่การสระบ่อย ๆ ไม่ได้หมายถึงให้สระทุกวัน ! เพราะถ้าสระผมทุกวันจะกลายเป็นรบกวนหนังศีรษะ ทำให้รูขุมขน และรากผมอ่อนแอ เส้นผมที่งอกใหม่ไม่แข็งแรง เป็นปัญหาผมบาง ขาดร่วงง่าย
    • ไม่ควรสระผมทุกวัน แต่อาจเป็น วัน เว้น วัน พร้อมกับรีบเป่าผมด้วยลมเย็นให้แห้งทันที เพราะชันนะตุจะมากับความชื้น แม้ว่าเราจะสระผมสะอาดแค่ไหนแต่ปล่อยให้ผมแห้งเอง ไม่รีบเป่าให้แห้งทันที จะกลายเป็นการสร้างเชื้อราให้กับหนังศีรษะของตัวเองอยู่ดี
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น
    ห้ามมองข้ามเรื่องการใช้สิ่งของร่วมกันเด็ดขาด ! แม้ว่าจะอยู่ร่วมกันในครอบครัวแต่การไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน จะช่วยลดการติดเชื้อราได้ดี ไม่ว่าจะเป็นผ้าเช็ดตัว หวี หรือเสื้อผ้า เพราะชันนะตุสามารถติดต่อได้ง่าย ทั้งทางผิวกาย ในหน้า หนังศีรษะ

    ยิ่งสมาชิกเด็ก ๆ ในบ้าน ยิ่งควรแนะนำให้ทุกคนไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และสอนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อรา ชันนะตุ สิ่งสกปรก หรือเชื้อโรคจากที่ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กทุกคนได้รู้จักวิธีดูแล และป้องกันตัวเองอย่างถูกต้อง ทั้งเวลาอยู่ในบ้าน หรือเวลาที่ออกไปโรงเรียน  

    อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวัง คือ การไปตัดแต่งทรงผมที่ร้านทำผม แม้ว่าอุปกรณ์ตกแต่งทรงผมต่าง ๆ จะผ่านการฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดมาอย่างดีแล้ว แต่หลังจากการตกแต่งทรงผมทุกครั้ง ควรสระผมทำความสะอาดหนังศีรษะอีกครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของชันนะตุ

  • ล้างมือบ่อย ๆ
    วิธีที่ป้องกันการติดเชื้อราจากการใช้มือสัมผัสหนังศีรษะ คือ หมั่นทำความสะอาดล้างมืออยู่เสมอ เพราะหลายคนที่เป็นชันนะตุ มักมีนิสัยชอบจับเส้นผม หรือบางคนก็ชอบเซตผม จับผมแต่งให้ได้ทรงอยู่บ่อย ๆ แต่อาจลืมทำความสะอาดมือ จนทำให้เชื้อราที่สะสมอยู่บริเวณเล็บกระจายลงสู่หนังศีรษะได้
  • ใช้แชมพูสระผมลดเชื้อรา หรือสูตรแก้รังแค
    สำหรับคนที่เป็นชันนะตุควรเลือกใช้แชมพูสระผมที่ปราศจากสารพาราเบน หรือสารซิลิโคน เพื่อลดการทำร้ายหนังศีรษะ และลดการอุดตันให้กับรูขุมขนได้ นอกจากนี้ควรเลือกแชมพูที่มีสารสกัดจากสมุนไพรเหล่านี้
ชันนะตุ แชมพู

“สารสกัดจากว่านหางจระเข้”  มีคุณสมบัติช่วยลดอาการแพ้ แก้คันระคายเคือง เพราะในว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยสารไกลโคโปรตีนจากวุ้นใส ชื่อ aloctin เอ,บี มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของผิวจากโรคชันนะตุได้ดี ช่วยปรับสภาพผิว คืนความชุ่มชื้นให้หนังศีรษะได้ 

“น้ำมันมะพร้าว”  (สกัดเย็น) ช่วยลดการสะสมของเชื้อราที่หนังศีรษะได้ดี เพราะในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น อุดมไปด้วยวิตามินอี และสารมอโนลอริน (Monolaurin) มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ และยับยั้งชันนะตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับรากผมได้ดี ทำให้ผมที่งอกใหม่ไม่เปราะบาง แก้ปัญหาผมร่วง ผมบางได้ดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยขจัดรังแค และคืนความชุ่มชื้นให้กับเส้นผม และหนังศีรษะ 

“สารสกัดจากใบบัวบก” แชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดชนิดนี้เหมาะมากกับผู้ที่เป็นชันนะตุ เพราะใบบัวบกมีสารสำคัญหลายชนิดที่ช่วยรักษาสมานแผลให้หายได้ไวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลบรอยแดงจากแผลที่หายแล้วได้อย่างดี และยังช่วยยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรยที่สะสมอยู่ที่หนังศีรษะได้อีกด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการป้องกัน หรืออยากรักษาเชื้อราบนหนังศีรษะให้หาย เพียงแค่ใช้ 4 วิธีตามข้างต้นก็สามารถห่างไกลจากชันนะตุได้ไม่ยาก ลองทำตามกันดู ไม่ผิดหวังแน่นอน!

สรุป

ชันนะตุ หรือเชื้อราบนหนังศีรษะสามารถรักษาได้ไม่ยาก เพียงแค่สระผมบ่อย ๆ และรีบเป่าให้แห้งทันทีด้วยลมเย็น ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น หมั่นล้างมือสม่ำเสมอ และใช้แชมพูจากสมุนไพรที่ช่วยยับยั้งเชื้อรา ยกเว้นผู้ที่มีอาการติดเชื้อ แผลอักเสบ ควรรีบพทแพทย์ให้ไวที่สุด นอกจากเรื่องชันนะตุยังมีเคล็ดลับดูแลเส้นผมอีกมาก คลิกเลย